เพื่อแบ่งปันความรู้โครงสร้างการบริหารงานของโรมันคูเรีย ตั้งแต่ปี 1988 จนถึงวันนี้ เชื่อว่าเร็วๆ นี้ สันตะปาปาฟรานซิส จะทรงประกาศสมณธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปการบริหารงานใหม่ ดังนั้นเพื่อเตรียมการ พวกเราน่าจะมีความรู้ทั่วไป จึงจะทำให้เห็นภาพรวมโครงสร้างการดำเนินงานของพระศาสนจักรสากลเป็นอย่างไร
ศูนย์กลางบริหารงานพระศาสนจักรคาทอลิกสากล
ของพระสันตะปาปาเรียกว่า “โรมัน คูเรีย” (Roman Curia)
(ตามแนวทางของสมณธรรมนูญ Pastor Bonus– 1988)
1. สำนักเลขาธิการรัฐ (I. THE SECRETARIAT OF STATE)
1.1 ฝ่ายกิจการทั่วไป The Section for General Affairs (First Section) (เทียบกระทรวงมหาดไทย)
1.2 ฝ่ายกิจการความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ (เทียบกระทรวงการต่างประเทศ) The Section for Relations with States (Second Section)
2. สมณกระทรวงต่าง ๆ (9) – II. CONGREGATIONS (9)
2.1 สมณกระทรวงเพื่อพระสัจธรรม Congregation for the Doctrine of the Faith (CDF)
2.1.1 คณะกรรมาธิการด้านพระคัมภีร์แห่งสันตะสำนัก Pontifical Biblical Commission
2.1.2 คณะกรรมาธิการด้านเทววิทยาแห่งสันตะสำนัก International Theological Commission
2.1.3 คณะกรรมาธิการด้านคำสอนแห่งพระศาสนจักรคาทอลิก Interdicasterial Commission for the Catechism of the Catholic Church
2.2 สมณกระทรวงเพื่อพระศาสนจักรจารีตตะวันออก Congregation for the Oriental Churches
2.3 สมณกระทรวงเพื่อการนมัสการพระเจ้า (พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์) และกฎเกณฑ์เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ Congregation for Divine Worship and the Discipline of the Sacraments
2.4 สมณกระทรวงเพื่อการสถาปนาบรรดานักบุญ Congregation for the Causes of Saints
2.5 สมณกระทรวงเพื่อบรรดาบิชอป Congregation for Bishops (Congregatio pro Episcopis)
2.5.1 คณะกรรมาธิการแห่งสันตะสำนัก เพื่อประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา (Pontifical Commission for Latin America)
2.6 สมณกระทรวงเพื่อการประกาศข่าวดีแห่งปวงชน Congregation for the Evangelization of Peoples
2.6.1 สมณองค์กรด้านงานธรรมทูต Pontifical Mission Societies (International Secretariats)
2.7 สมณกระทรวงเพื่อสมณะ (ผู้รับศีลบวชเป็นศาสนบริกร-บาดหลวง-สังฆานุกร) (Congregation for the Clergy)
2.8 สมณกระทรวงเพื่อสถาบันแห่งผู้ถวายตัว และ เพื่อชีวิตการแพร่ธรรม (Congregation for Institutes of Consecrated Life and Societies of Apostolic Life)
2.9 สมณกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิก (สามเณราลัยและสถาบันเพื่อการศึกษา) Congregation for Catholic Education (for Seminaries and Educational Institutions)
3. ศาลพระศาสนจักร (3) – III. TRIBUNALS (3)
3.1 ศาลพระศาสนจักรเพื่อชีวิตจิตภายใน (เกี่ยวกับอำนาจอัครสาวกเพื่อการชดเชยใช้โทษบาปและพระคุณการุณย์) (Apostolic Penitentiary)
3.2 ศาลสูงแห่งอำนาจอัครสาวก (Supreme Tribunal of the Apostolic Signatura)
3.3 ศาลฎีกาแห่งโรมันโรต้า (Tribunal of the Roman Rota)
4. สมณสภาแห่งสันตะสำนัก (12) – IV. PONTIFICAL COUNCILS (12)
4.1 สมณสภาเพื่อฆราวาส (Pontifical Council for the Laity)
4.2 สมณสภาเพื่อส่งเสริมเอกภาพของคริสตชนทุกนิกาย (Pontifical Council for Promoting Christian Unity)
4.2.1 คณะกรรมาธิการเพื่อความสัมพันธ์กับศาสนิกยิว (ศาสนายูดาย) Commission for Religious Relations with the Jews
4.3 สมณสภาเพื่อครอบครัว (Pontifical Council for the Family)
4.4 สมณสภาพื่อความยุติธรรมและสันติ (Pontifical Council for Justice and Peace)
4.5 สมณสภา “กอร์ อูนุม” เพื่อการพัฒนาคริสตชนในด้านมนุษยธรรม [Pontifical Council Cor Unum (One Heart) for Human & Christian Development]
4.6 สมณสภาเพื่อการอภิบาลผู้ลี้ภัย และผู้เดินทาง (Pontifical Council for the Pastoral Care of Migrants and Itinerant People)
4.7 สมณสภาเพื่อการอภิบาลสุขภาพพลานามัย (Pontifical Council for Health Pastoral Care)
4.8 สมณสภาเพื่อการตีความทางด้านกฎหมาย (Pontifical Council for Legislative Texts)
4.9 สมณสภาเพื่อการเสวนาระหว่างศาสนา (Pontifical Council for Inter-religious Dialogue)
4.9.1 กรรมมาธิการเพื่อความสัมพันธ์กับศาสนิกมุสลิม (Commission for religious relations with Muslims)
4.9.2 มูลนิธิ “นอสตรา เอตาเต” (ยุคสมัยของเรา) (Foundation “Nostra Aetate” )
4.10 สมณสภาเพื่อวัฒนธรรม (Pontifical Council for Culture)
4.11 สมณสภาเพื่อการสื่อสารสังคม (Pontifical Council for Social Communications)
4.12 สมณสภาเพื่อการประกาศข่าวดีในยุคใหม่ (Pontifical Council for New Evangelization)
NB. ในสมณสมัยของพระสันตะปาปาฟรานซิสได้เริ่มปฎิรูปบางสมณสภาฯ กล่าวคือ ยุบบางสมณสภาฯ แล้วผนวกเข้าเป็น สมณองค์กรเดียวกัน เช่น
1. สมณกระทรวงเพื่อฆราวาส ครอบครัว และชีวิต (Dicastery for the Laity, the Family, and Life)
2. สมณกระทรวงเพื่อการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม (Dicastery for Promoting Integral Human Development – DPIHD)
3. สำนักเลขาธิการเพื่อการสื่อสารสังคม (Secretariat for Social Communication)
5. สมัชชาบรรดาบิชอป – V. SYNOD OF BISHOPS
6. สำนักงานต่าง ๆแห่งสันตะสำนัก– VI. OFFICES
6.1 สำนักพระราชวังแห่งอัครสาวก (Apostolic Chamber, Camera Apostolica)
– สำนักงานพระคาร์ดินัล คาแมร์เลงโก (Cardinal Camerlengo, and Vice Camerlengo)
6.2 คณะพระคาร์ดินัลแห่งศาสนจักรโรมันคาทอลิก (College of Cardinals)
6.3 คณะกรรมการบริหารทรัพย์สินแห่งสันตะสำนัก (Administration of the Patrimony of the Apostolic See) (A.P.S.A.)
6.4 สำนักงบประมาณ และประเมินเศรษฐกิจแห่งสันตะสำนัก (Prefecture for the Economic Affairs of the Holy See)
6.5 สำนักราชเลขาฯ (Prefecture of the Papal Household)
6.6 สำนักงานนายจารีตของสันตะสำนัก (Office for the Liturgical Celebrations of the Supreme Pontiff)
6.7 สำนักงานบุคลากร (คนงาน) แห่งสันตะสำนัก (Labour Office of the Apostolic See)
7. สถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสันตะสำนัก VII. INSTITUTIONS CONNECTED WITH THE HOLY SEE
7.1 ห้องเก็บเอกสารลับ (Vatican Secret Archives)
7.2 ห้องสมุดของวาติกัน (Vatican Apostolic Library)
7.3 สถาบันเพื่อการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์แห่งสันตะสำนัก (Pontifical Academy of Sciences)
7.4 สถาบันเพื่อสังคมศาสตร์แห่งสันตะสำนัก (Pontifical Academy of Social Sciences)
7.5 สถาบันเพื่อชีวิตแห่งสันตะสำนัก (Pontifical Academy for Life)
7.6 สถาบันการศึกษาด้านการทูตแห่งสันตะสำนัก (Pontifical Ecclesiastical Academy)
NB. นอกจากนั้นยังมีสถาบันอีกมากมายที่สังกัดภายใต้สันตะสำนัก เช่นมหาวิทยาลัยของสันตะสำนัก
8. การพิมพ์และบริการข่าวสาร VIII. VATICAN PRESS & INFORMATION SERVICES
8.1 วาติกัน การพิมพ์ (Vatican Polyglot Press)
8.2 สำนักพิมพ์หนังสือของวาติกัน + ร้านจำหน่ายหนังสือ (Vatican Publishing House and its bookstore)
8.3 หนังสือพิมพ์วาติกัน รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน (L’ Osservatore Romano (daily, weekly and monthly newspapers)
8.4 วิทยุวาติกัน (Vatican Radio)
8.5 ศูนย์โทรทัศน์วาติกัน (Vatican Television Centre)
9. องค์กรอื่น ๆ สถาบันอื่น ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสันตะสำนัก IX. VARIOUS OTHER INSTITUTES, COMMISSIONS, OFFICES CONNECTED WITH THE HOLY SEE, such as:
9.1 โรงงานเซนต์ปีเตอร์ (The Fabric of Saint Peter’s)
-การขุดโบราณคดีภายใต้มหาวิหาร (Excavations Office)
9.2 ทหารสวิส (Swiss Guard)
9.3 สำนักงานเพื่อช่วยเหลือคนยากจน Office of Papal Charities (Elemosineria Apostolica)
9.4 ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ (Pontifical Institute of Sacred Music)
9.5 นักขับร้องวัดน้อยซิสทีน (Pontifical Musical Chorus of the Sistine Chapel)
9.6 คณะกรรมาธิการโบราณคดี มรดกทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมสร้างวัด (Pontifical Commission for the Cultural Heritage of the Church)
9.7 คณะกรรมาธิการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โบราณสถาน (Pontifical Commission for Sacred Archeology)
9.8 คณะกรรมาธิการ Ecclesia Dei (Pontifical Commission “Ecclesia Dei”)
9.9 คณะกรรมาธิการนครรัฐวาติกัน (Pontifical Commission for Vatican City State)
9.10 คณะกรรมาธิการเพื่อการชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทนานาชาติ (Pontifical Committee for International Eucharistic Congresses)
9.11 สำนักงานผู้ว่าการรัฐวาติกัน (Governatorate of Vatican City State)
9.12 สำนักงานผู้แทนรัฐวาติกัน (Vicariate of Vatican City State)
9.13 สำนักงานผู้บริหารสังฆมณฑลแห่งกรุงโรม (ในนามพระสันตะปาปา) (Vicariate of Rome)
9.14 สำนักงานอัศวินและทหารม้าแห่งเยรูซาเล็ม (Equestrian Order of the Holy Sepulcher of Jerusalem)
9.15 สำนักงานเภสัส (Vatican Farmacy)
9.16 พิพิธภัณฑ์วาติกัน (Vatican Museum)
NB. นอกนั้นยังมีหน่วยงานเล็ก ๆ อีกมากมาย เช่น สำนักงานการไปรษณีย์ ซุปเปอร์มาร์เกต ฯลฯ
นี่เป็นโครงสร้างการบริหารงานของ “โรมัน คูเรีย” เปรียบเสมือน “มือขวา” ของพระสันตะปาปา เพื่อช่วยพระองค์ในการปกครองพระศาสนจักรคาทอลิก ขณะที่สภาบิชอปทั่วโลก และพระศาสนจักรท้องถิ่นเปรียบเสมือน “มือซ้าย” ที่ต้องช่วยเหลือกันในการบริหารงานเพื่อพันธกิจในการประกาศข่าวดี เชื่อว่าก่อนสมโภชปาสกา ปี ค.ศ. 2021 (ปีนี้) พระสันตะปาปาฟรานซิสจะทรงประกาศสมณธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปโรมัน คูเรีย (Praedicate Evangelium)เพื่อทำให้การบริหารงานของพระศาสนจักรคาทอลิกมีความคล่องตัวและเหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน